ให้นักศึกษาอ่าน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ หมวด2 พระมหากษัตริย์
มาตรา 13 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรี
พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา 14 องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตุลาการ ศาลปกครอง
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือน ประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ใน พรรคการเมืองใดๆ
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง
จัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ
เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง
ตอบ กฎหมายการสมรส ที่สมบูรณ์นั้น
จะต้องมีการจดทะเบียนสมรส เพื่อให้ถูกต้องทางด้านนิตินัย
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
- จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี
จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอ'
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอ'
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
การแจ้งการเกิด
เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะสูติบัตรเป็นหลักฐานที่ทาง ราชการออกให้เพื่อให้พิสูจน์ทราบตัวบุคคล และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเรื่องสิทธิต่าง ๆ หากผู้มีหน้าที่ไม่แจ้งการเกิดต้องมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หน้าที่ของผู้แจ้งการเกิด
1. เมื่อมีคนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งท้องที่ที่เกิดภายใน 15 วัน
2. เมื่อมีคนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่เกิด หรือท้องที่ที่พึ่งแจ้งได้ใน 15 วันเกิด นับแต่วันเกิด หรือในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน (เฉพาะในเขตทุรกันดาร)
สถานที่รับแจ้งการเกิด และผู้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด
1. กรณีคนเกิดนอกเขตเทศบาล ณ ท้องที่ใดให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งคือ กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น
หรือ ปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือ กิ่งอำเภอนั้น
2. กรณีคนเกิดในเขตเทศบาลใด ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาลนั้น
3. กรณีมีคนเกิดในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเขตนั้น
การแจ้งการเกิดผู้แจ้งการเกิดควรดำเนินการดังนี้
1. ให้แจ้งชื่อของเด็กเกิดใหม่พร้อมกับการแจ้งเกิดและแจ้งชื่อสกุลด้วย พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็ก
2. แจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจาก สถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย
3. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ และที่อยู่ของบิดาและมารดาเด็ก
4. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการเกิดตามหลักฐาน สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง
วิธีการแจ้งการเกิดเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการเกิดจากผู้มีหน้าที่แล้ว จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะส่งรายการต่าง ๆในสูติบัตร (ตอนที่ 1) ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
การแจ้งการตาย
- หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
การแจ้งการเกิด
เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะสูติบัตรเป็นหลักฐานที่ทาง ราชการออกให้เพื่อให้พิสูจน์ทราบตัวบุคคล และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเรื่องสิทธิต่าง ๆ หากผู้มีหน้าที่ไม่แจ้งการเกิดต้องมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หน้าที่ของผู้แจ้งการเกิด
1. เมื่อมีคนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งท้องที่ที่เกิดภายใน 15 วัน
2. เมื่อมีคนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่เกิด หรือท้องที่ที่พึ่งแจ้งได้ใน 15 วันเกิด นับแต่วันเกิด หรือในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน (เฉพาะในเขตทุรกันดาร)
สถานที่รับแจ้งการเกิด และผู้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด
1. กรณีคนเกิดนอกเขตเทศบาล ณ ท้องที่ใดให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งคือ กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น
หรือ ปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือ กิ่งอำเภอนั้น
2. กรณีคนเกิดในเขตเทศบาลใด ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาลนั้น
3. กรณีมีคนเกิดในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเขตนั้น
การแจ้งการเกิดผู้แจ้งการเกิดควรดำเนินการดังนี้
1. ให้แจ้งชื่อของเด็กเกิดใหม่พร้อมกับการแจ้งเกิดและแจ้งชื่อสกุลด้วย พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็ก
2. แจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจาก สถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย
3. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ และที่อยู่ของบิดาและมารดาเด็ก
4. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการเกิดตามหลักฐาน สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง
วิธีการแจ้งการเกิดเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการเกิดจากผู้มีหน้าที่แล้ว จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะส่งรายการต่าง ๆในสูติบัตร (ตอนที่ 1) ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
การแจ้งการตาย
ความตายเป็นเรื่องที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
และไม่ทราบได้ว่าตนเองจะตายเมื่อไร ฉะนั้น เพื่อความรอบคอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
และถือเป็นหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
จึงควรทราบขั้นตอนเกี่ยวกับการแจ้งการตาย เพราะฝ่าฝืนมีความผิดมีโทษไม่เกิน 1,000 บาท
หน้าที่ของผู้แจ้งการตาย
เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน
ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง
นับแต่เวลาตาย
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ เพราะว่ารัฐธรรมนูญคือกฏหมายสูงสุดในประเทศไทย
จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความเข้าใจเพื่อสิทธิและประโยชน์ที่เราพึงได้รับ
เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบ
ข้อตกลงที่ใช้ร่วมกันเพื่อที่จะได้รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ ดิฉันเห็นว่าการที่จะแก้รัฐธรรมนูญนั้นสามารถที่จะแก้ได้
ถ้าแก้แล้วเกิดผลดีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง
การแก้นั้นควรแก้เฉพาะบางมาตราที่เห็นว่าแก้แล้วจะดีขึ้น
แก้แล้วจะไม่ล้าหลังกว่าประเทศอื่น
ส่วนมาตราไหนที่ดีอยู่แล้วก็ควรไว้เช่นเดิม และในการแก้ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไม่ควรเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือเพื่อใคร
แต่ควรทำเพื่อส่วนรวมและความมั่นคงเป็นสำคัญ ฉะนั้นคงต้องดูกันว่าจะแก้ตรงไหนเมื่อแก้แล้วเกิดผลอย่างไร
เพราะแน่นอนอยู่แล้วว่าการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นต้องมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
จึงทำให้เห็นว่ามีประชาชนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยคัดค้านซึ่งก็เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของบุคคลที่สามารถกระทำได้
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ
มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร
มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นดิฉันคิดว่าเกิดจากการแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย การที่ไม่ยอมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน
การที่ผู้นำประเทศ ผู้ที่ถือกฎหมายไม่ทำตนเป็นกลาง
โดยส่วนมากจะนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำหน้าที่ของตนเองไม่เต็มที่ อีกทั้งเพราะมั่วแต่คอยขัดแข้งขัดขากันเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายได้ผลงานการทำงานที่ผู้นำใช้แต่อารมณ์ไร้เหตุผล
เช่นการทะเลาะกันในสภามีการชกต่อยกันเป็นต้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเป็นอย่างมากทั้งต่อสายตาชาวต่างชาติและคนไทยเองก็ตาม
การที่ผู้นำที่ประชาชนเลือกไปเพื่อเป็นตัวแทนในการใช้สิทธิ์ใช้เสียงนั้นไปกระทำแบบนั้นจำทำให้คนเชื่อถือได้อย่างไร
อีกทั้งการแทรกแซงอำนาจกันซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ภาวะที่ดำรงอยู่นั้นไม่มั่นคง
ซึ่งทั้งหมดก็เป็นการกระทำที่ไม่ได้ทำให้ประเทศได้เดินไปข้างหน้ามีแต่หยุดนิ่งและถอยลง
ต่างประเทศขาดความเชื่อถือจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ
บ้านเมืองขาดเสถียรภาพซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในภายหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น